วันสืบ นาคะเสถียร: เสียงสะท้อนจากผืนป่า สู่การต่อต้านเขื่อนแก่งเสือเต้น
01 ก.ย. 2024
วันที่ 1 กันยายน ของทุกปี ไม่ได้เป็นเพียงแค่วันที่เราสูญเสียบุคคลสำคัญในวงการอนุรักษ์ธรรมชาติของไทยไป แต่ยังเป็นวันที่เราตระหนักถึงคุณค่าของผืนป่า และเป็นเครื่องเตือนใจให้เรายังคงสานต่อเจตนารมณ์ของ สืบ นาคะเสถียร ในการปกป้องทรัพยากรธรรมชาติอันล้ำค่าของประเทศไทย
โครงการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น เป็นประเด็นที่สร้างความขัดแย้งในสังคมไทยมาอย่างยาวนาน แม้จะมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วม แต่ก็ต้องแลกมาด้วยการสูญเสียผืนป่ากว่า 1 แสนไร่ และผลกระทบต่อสัตว์ป่าหลายร้อยชนิด รวมถึงวิถีชีวิตของชาวบ้านกว่าพันครัวเรือน
สืบ นาคะเสถียร นักวิชาการผู้รักและเข้าใจธรรมชาติอย่างลึกซึ้ง ได้ต่อต้านโครงการนี้อย่างแข็งขัน เขาใช้ความรู้และข้อมูลเพื่อแสดงให้เห็นถึงผลกระทบร้ายแรงที่จะเกิดขึ้น หากมีการสร้างเขื่อน
การต่อสู้ของสืบ นาคะเสถียร ไม่เพียงสะท้อนถึงความกล้าหาญและความเสียสละของเขา แต่ยังเป็นเครื่องเตือนใจให้เราเห็นว่า แม้เสียงเล็กๆ ก็สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ได้ หากมีความมุ่งมั่นและความจริงใจ
บทเรียนจากแก่งเสือเต้น:
- การมีส่วนร่วมของประชาชน: ชาวบ้านในพื้นที่และกลุ่มอนุรักษ์ได้ร่วมกันต่อสู้เพื่อปกป้องผืนป่าและวิถีชีวิตของพวกเขา เป็นเครื่องพิสูจน์ว่าพลังของประชาชนสามารถเอาชนะอุปสรรคได้
- ความสำคัญของการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม: กรณีเขื่อนแก่งเสือเต้นแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างรอบด้านและเป็นกลาง เพื่อป้องกันความเสียหายต่อระบบนิเวศและสังคม
- การเคารพสิทธิชุมชน: การพัฒนาใดๆ ก็ตามต้องคำนึงถึงสิทธิและความเป็นอยู่ของชุมชนในพื้นที่ ไม่ใช่เพียงแค่ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
สืบสานเจตนารมณ์:
แม้โครงการเขื่อนแก่งเสือเต้นจะถูกระงับไปแล้ว แต่ก็ยังมีโครงการพัฒนาอื่นๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เราทุกคนต้องตื่นตัวและร่วมกันปกป้องทรัพยากรธรรมชาติของเรา
#สืบนาคะเสถียร #วันสืบ #รักษ์ป่า #CampOneNR
“พอมีน้ำท่วม น้ำแล้งเขาก่อยกเรื่องแก่งเสือเต้นขึ้นมาเป๋นประเด็น”
ชาวชุมชนสะเอียบพยายามเสนอแผนสะเอียบโมเดล เป็นการจัดการน้ำขนาดเล็ก อ่างแม่สะกึ๋น 2 และอ่างห้วยเป้า แต่ก็ยังกังวลว่า แม้ว่าจะมีแผนสะเอียบโมเดล แต่โครงการเขื่อนแก่งเสือเต้นอาจจะถูกรื้อฟื้นอีกครั้งเมื่อปัญหาน้ำแล้ง หรือน้ำท่วมเกิดขึ้น ซึ่งภาครัฐอาจให้เหตุผลว่า สะเอียบโมเดลใช้แก้ปัญหาไม่ได้
ดังนั้น การมาร่วมสมัชชาคนจนในครั้งนี้ กรณีปัญหาโครงการก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น มีประเด็นในการเจรจา 3 ข้อ คือ
- ขอให้คณะรัฐมนตรีมีมติยกเลิกโครงการก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น หรือเขื่อนยมบน – เขื่อนยมล่าง (แม่น้ำยม) จังหวัดแพร่
- การดำเนินโครงการพัฒนาใดๆ ในพื้นที่ลุ่มน้ำยมจะต้องให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาบนทิศทางความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และความมั่นคงในชีวิตของประชาชน
- รัฐบาลต้องบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำยมในรูปแบบ “สะเอียบโมเดล” ซึ่งหน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.)
ภาพการชุมนุมเพื่อเจรจากับหน่วยงานรัฐ ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อวันศุกร์ที่ 20 ตุลาคม 2566 มีผู้ที่ได้รับผลกระทบการจากพัฒนาของรัฐบาล ทั้ง 7 ประเด็น หนึ่งในนั้นคือ โครงการเขื่อนแก่งเสือเต้น
ผลการเจรจาสมัชชาคนจน พ.ศ. 2566 กรณีโครงการก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น
การเจรจาในรอบแรก เมื่อวันพุธที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2566 : กลุ่มผู้เดือดร้อน กรณีปัญหา ที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าเจรจากับ ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รมว. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หนึ่งในนั้น มีกรณีปัญหาของโครงการเขื่อนแก่งเสือเต้น โดยตัวแทนที่เจรจา ได้คำตอบจาก ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รมว. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รับจะกำหนดลงพื้นที่เพื่อรับทราบปัญหาความเดือดร้อนเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาต่อไป แต่ยังระบุไม่ได้ว่าจะลงพื้นที่ได้วันไหน
การเจรจาในรอบที่ 2 เมื่อวันศุกร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2566 : ไม่มีตัวแทนจาก สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เข้าร่วมประชุมจึงไม่สามารถหาข้อยุติได้ จึงมีนัดหมายในการประชุมครั้งต่อไป ในวันที่ 24 ต.ค. 2566
การเจรจาในรอบที่ 3 เมื่อวันศุกร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2566 : มีการเจราจาเพื่อยกเลิกเขื่อนท่าแซะ และเขื่อนแก่งเสือเต้น ได้ข้อตกลงในการเจรจา คือ กรมชลประทาน และสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช) มีความเห็นร่วมกัน ว่าจะยกเลิกเขื่อนท่าแชะ และเขื่อนแก่งเสือเต้น และจะนำเข้าที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เพื่อขอมติคณะรัฐมนตรี รับรอง
ร่วมรักษาป่าใหญ่และสิ่งแวดล้อมกับมูลนิธิสืบนาคะเสถียร
Camp One NR: ร่วมสืบสานปณิธานของสืบ นาคะเสถียร
ในฐานะร้านค้าที่จำหน่ายอุปกรณ์แคมป์ปิ้งและกิจกรรมกลางแจ้ง Camp One NR ตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ธรรมชาติ เราสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และส่งเสริมให้ลูกค้าของเราใช้อุปกรณ์และปฏิบัติตนอย่างรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม
ร่วมกันสร้าง “วันพรุ่งนี้” ที่ดีกว่าให้กับป่าของเรา